วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

RAM เเละ ROM

RAM โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. Static Random Access Memory ( SRAM )
            คือ RAM ซึ่งเก็บรักษาข้อมูลบิตไว้ในหน่วยความจำของมันตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงอยู่ ไม่เหมือนกับดีแรม (DRAM) ที่เก็บข้อมูลไว้ในเซลซึ่งประกอบขึ้นด้วยตัวเก็บประจุหรือคาปาซิเตอร์(Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor)




2. Dynamic Random Access Memory ( DRAM )
            คือ RAM หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและเครื่องเวิร์คสเตชั่น(Workstation) ลักษณะของ DRAM จะเป็นคล้ายกับเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ         ประเภทของ DRAM ในท้องตลาดแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก 



                        2.1)  FPM DRAM
                                    เป็น RAM ชนิดที่ใช้กับ PC ในยุคเริ่มต้น โดยมีรูปแบบคือ SIMM (Single Inline Memory Modules)ปกติจะมีแบบ SIMM ละ 2, 4, 8, 16 และ 32 MB โดยมีค่า refresh rate ของวงจรอยู่ที่ 60 และ 70 nana sec.โดยค่า refresh ที่น้อยกว่าจะความเร็วมากกว่า
                        2.2)  EDO DRAM
                                    เป็นชนิดที่ปรับปรุงมาจาก FPM โดยมีการปรับปรุงเรื่องการอ่านข้อมูล โดยทั่วไปแล้วการอ่านข้อมูลจาก RAM จะต้องระบุตำแหน่งแนวตั้ง และแนวนอนให้แก่วงจร RAM ถ้าเป็นชนิด FPM แล้วต้องระบุแนวใดแนวหนึ่งให้เสร็จเสียก่อน แล้วจึงระบุอีกแนวหนึ่ง แต่ EDO สามารถระบุค่าตำแหน่งในแนวตั้ง (CAS) และแนวนอน(RAS) ได้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน หรือพร้อมกันได้
                        2.3)  SDRAM
                        เป็น RAM ชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน โดย 1 DIMMs จะมี 168 ขา และส่งข้อมูลได้ทีละ 64 บิต ทำให้ SDRAM แผงเดียวก็สามารถทำงานได้ เวลาในการเข้าถึงข้อมูลของ SDRAM จะมีค่าประมาณ6-12 n Sec. ปัจจุบัน SDRAM สามารถทำงานได้ที่ความถี่ 66, 100 และ 133 MHz
                        2.4)  RAMBUS
                        พัฒนามาจาก DRAM แต่มีการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในใหม่ทั้งหมด มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเข้าถึงข้อมูลภายใน RAM ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้หลักการ “Pre-fetch” หรืออ่านข้อมูลล่วงหน้าโดยระหว่างนั้น CPU สามารถทำงานอื่นไปพร้อม  กันด้วย packet ของ RAMBUS จะเรียกว่า RIMMs (Rambus Inline Memory Modules) ซึ่งมี 184 ขา
                                    RAMBUS ทำงานกับไฟกระแสตรง 2.5 V ภายใน 1 RIMMs (Rambus Inline Memory Modules)จะมีวงจรสำหรับควบคุมการหยุดจ่ายไฟแก่แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS ซึ่งยังไม่ถูกใช้งานขณะนั้น เพื่อช่วยให้ความร้อนของ RAMBUS ลดลง และวงจรดังกล่าวจะทำหน้าที่ลดความเร็วของ RAMBUS ลงหากพบว่าความร้อนของ RAMBUS ขณะนั้นสูงเกินไป
            แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS 1 แผงจะรับ-ส่งข้อมูลทีละ 16 บิต โดยใช้ความถี่ 800MHz ซึ่งเกิดจากความถี่ 400 MHz แต่ทำงานแบบ DDR (Double Data Rate) ทำให้ได้ bandwidth ถึง 1.6GB/Sec. และจะมี bandwidth สูงถึง 6.4 GB/Sec. ถ้าใช้แผงวงจรย่อย 4 แผง


ROM มีทั้งหมด 3 ประเภทครับ ประกอบไปด้วย
- PROM (Programable ROM) เป็น ROM ที่สามารถ program ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ไม่สามารถลบข้อมูลได้ครับ ต่อมาจึงมีการพัฒนา ROM อีกประเภทหนึ่งที่สามารถช่วยให้ลบข้อมูลได้ ซึ่งก็คือ

- EPROM (Erasable PROM) โดยมันจะทำการลบข้อมูลโดยใช้รังสี Ultraviolet ที่มีความแรง (แสงอาทิตย์ไม่เพียงพอที่จะลบข้อมูลได้ เพียงแต่เราควรป้องกันไม่ให้ EPROM โดนแสงแดดเพราะอาจจะทำให้ข้อมูลบางอย่างหายไปได้ ถึงแม้ว่าแสงอาทิตย์จะมี ultraviolet ที่ไม่แรงก็ตาม) การลบข้อมูลของมันอาจจะนำไปใส่กล่องหรืออุปกรณ์ที่มีรังสี  ultraviolet ที่มีความแรงสูงครับ แต่ในวิธีการลบข้อมูลของ EPROM ค่อนข้างจะยุ่งยาก เนื่องจากจะต้องนำ ROM ออกมาเพื่อไปล้างข้อมูลในกล่องหรืออุปกรณ์บางอย่าง จึงทำให้เขาพัฒนาอีกประเภทหนึ่งขึ้นมาคือ
- EEPROM (Electrically Erasable PROM) ซึ่งช่วยให้เราสามารถใช้กระแสไฟฟ้าในการลบข้อมูลได้แทนการใช้รังสี ultraviolet ครับ แต่รู้สึกว่า ROM ประเภทนี้จะมีราคาค่อนข้างแพงเนื่องจากมันจะทำการลบเป็นทีละ bit ดังนั้นเขาจึงพัฒนา technology ใหม่ขึ้นมาที่ชื่อว่า FLASH Technology

ถ้ามีอะไรผิดพลาด หรือขาดตกบกพร่องช่วยชี้แนะเพิ่มเติมด้วยครับ (เพราะผมก็เป็นผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนก็อาจผิดพลาดกันได้ครับ) พร้อมรับคำติครับ

Input/Output Unit

STEELSERIES SENSEI PRO GRADE LASER MOUSE

สุดยอดเม้าส์ระดับปรมาจารย์ที่สามารถปรับแต่งการใช้งานได้มากที่สุดในโลก
คุณสมบัติหลักของ SteelSeries Sensei
- ขับเคลื่อนโดยหน่วยประมวลผล ARM 32 บิต, Sensei ขับเคลื่อนด้วยระบบการคำนวณที่ซับซ้อนโดยตรงบนเมาส์ โดย
- ไม่ต้องใช้ไดรเวอร์ซอฟต์แวร์และการได้โดยไม่ต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์ของคุณ
- ปรับแต่งรายละเอียดทุกครั้ง จากปุ่มแมโครและหลายโปรไฟล์เพื่อตั้งค่าสีการเต้นและเทคโนโลยี
- เลือกจาก 16.8 ล้านสีสำหรับ 3 สถานที่แตกต่างของแสงสว่างบนเมาส์
- การตั้งค่าความไวสามารถปรับได้ตั้งแต่ 1 ถึง 5700 CPI และสามารถ “overclocked” Double CPI ได้ถึง 11,400 DCPI
- เซอร์เลเซอร์มีค่า 10.8 ล้านพิกเซล สูงถึง 12,000 เฟรมต่อวินาทีและความสามารถในการจับการได้ถึง 150 นิ้วต่อวินาที
- ออกแบบตัวเมาส์ด้วยโลหะเคลือบกัน และเชื่อมต่อกับสายไนลอนถักคู่กับขั้วต่อ USB
- เพียงเสียบก็สามารถใช้งานได้ทันที สำหรับคอเกม PC * ที่ต้องการเลือกการปรับแต่งความสามารถของเมาส์ สามารถใช้งานร่วมกับ SteelSeries Engine Technology เพื่อบันทึกโปรไฟล์พร้อมถึงการตั้งค่าการใช้งานที่หลากหลาย และการตั้งค่าได้อย่างแม่นยำ



Communication and Internet

Communication and Internet


1 ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel)
      ช่องทางการสื่อสาร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของการสื่อสารข้อมูลซึ่งหมายถึง สื่อกลางการส่งผ่านสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิด โดยการสื่อสารข้อมูลผ่านช่องทางการสื่อสารนี้ ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐาน 2 ประการ คือ ความกว้างของช่องสัญญาณและชนิดของข้อมูล ซึ่งคำว่า “ความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth)” อาจเปรียบได้กับความกว้างของถนนและ “ชนิดของข้อมูล” อาจเปรียบได้กับชนิดของรถยนต์ดังนั้นการที่ช่องทางการสื่อสารมีแบนด์วิดท์มาก ก็เท่ากับมีถนนหลายเลน รถยนต์สามารถวิ่งผ่านไปมาได้มากและรวดเร็ว แต่ในทางกลับกันหากมีแบนด์วิดท์น้อยก็เท่ากับถนนมีเลนน้อย รถยนต์วิ่งผ่านไปมาได้น้อยและช้า นอกจากนี้แล้วชนิดของข้อมูลก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลกระทบต่อปริมาณ และความรวดเร็วในการสื่อสารกล่าวคือชนิดข้อมูลที่เป็นข้อความจะมีขนาดเล็กทำให้การส่งผ่านข้อมู่ลไปมาทำได้สะดวกรวดเร็วแม้จะมีแบนด์วิดท์น้อยก็ตามแต่ในทางกลับกัน หากช่องทางการสื่อสารนั้นมีแบนด์วิดท์กว้าง แต่ชนิดข้อมูลกลับเป็นไฟล์วิดีโอซึ่งขนาดใหญ่มากก็จะทำให้ส่งผ่านข้อมูลได้ช้า ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
Ä ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย (Physical Wire) เช่น สายทวิสเตดแพร์ (Twisted-pair Wire) สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) และเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable) เป็นต้น
Ä ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) เช่น ไมโครเวฟ (Microwave) ดาวเทียม (Satellite) แสงอินฟราเรด (Infrared) คลื่นวิทยุ (Radio) และเซลลาร์ เป็นต้น



2 อินเทอร์เน็ต internet
      
     อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ กลุ่มเครือข่ายย่อย ๆ ของคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสาร (Protocol) เดียวกัน จนเป็นสังคมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายแต่ละเครื่อง สามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น ตัวอักษร ภาพ เสียง รวมทั้งสามารถสืบค้นข้อมูลข่ายสารจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
บนอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว

   
ประวัติและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
    
   เครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือกำเนิดในยุคของสงครามเย็นระหว่างประเทศมหาอำนาจ(สหรัฐอเมริกา)
กับรัสเซียเนื่องจากกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นได้เกิดแนวคิดที่ต้องการ
ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยคอมพิวเตอร์สามารถสั่งการและทำงานได้
ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้คอยควบคุมดูแล หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูหรือขีปนาวุธ
นิวเคลียร เข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์ที่เมืองใดเมืองหนึ่ง อาจทำให้ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วน
ถูกทำลายไปแต่ส่วนที่เหลือจะต้องสามารถปฏิบัติงานได้ ซึ่งเป้าหมายนี้เองจึงได้เกิดโครงการวิจัย
และพัฒนาระบบ เครือข่ายดังกล่าวขึ้น เรียกว่า ARPA(Advanced Research Projects Agency)
และได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดได้กลายมาเป็นเครือข่ายที่มีชื่อว่า “อินเทอร์เน็ต” (Internet)
ในปัจจุบัน

Database

Database

         ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
1:1 = ประชาชน 1 คน สามารถมีบัตรประชาชนได้ 1 ใบ
1:M = นักศึกษา 1 คน สามารถมีวิชาเรียนได้มากกว่า 1 วิชา
M:M = การลงทะเบียนเรียนแต่ละครั้งสามารถลงทะเบียนได้หลายรายวิชา
           ตัวอย่างระบบจัดการฐานข้อมูล : Microsoft Access, FoxPro, SQL Server, Oracle
            ลำดับโครงสร้างข้อมูล

Bit = เลขฐาน2 ประกอบไปด้วยเลข 1 และ 2
Byte = การนำเลขฐาน 2 มารวมกัน ซึ่ง1ไบต์เท่ากับ8บิต
Field = การนำเอา Byte หลายๆ Byte มารวมกัน เช่น ชื่อ นามสกุล
Record = การนำเอา Field มาเชื่อมโยงกัน
File = การนำเอาระเบียนหลายๆระเบียนมาเชื่อมโยงกัน
Database = การนำเอาแฟ้มที่มีความสัมพันธ์กันเก็บไว้ด้วยกัน

Software

แบบฝึกหัดเรื่อง Software แยกประเภทของโปรแกรม

1. Operating System Windows, Mac OS, Linux, UNIX, DOS

2. Translator Language ThaiSoftware Dictionary, LEXiTRON Dictionary

3. Utility Program Norton, Winzip, Cleanup, Winrar, Internet Explorer, Opera, FireFox, MacAfee, AVG Ati Virus, Avira Ati Virus, NOD32, Bitdefender, Adobe reader , Safari

4. โปรแกรมเฉพาะด้าน ทางธุรกิจ
  4.1 ประมวลผลคำ MS-Word
  4.2 ตารางทำการ MS-Excel
  4.3 ระบบจัดการฐานข้อมุล MySQL, Access, Oracle, MS-SQL Server
  4.4 ซอฟต์แวร์ด้านมัลติมีเดีย และเว็บ Smart Nero, Power DVD, Windows Media Player
  4.5 ซอฟต์แวร์ด้านการติดต่อสื่อสาร
  4.6 ซอฟต์แวร์ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ MS-PowerPoint
  4.7 ซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจ Accounting System, Inventory Control

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

โปรแกรม Google Desktop

โปรแกรม Google Desktop

 

          Google Desktop ช่วยให้การค้นหาคอมพิวเตอร์ของคุณเป็นเรื่องง่ายเหมือนกับการค้นหาเว็บต่างๆด้วยGoogle เป็นโปรแกรมค้นหาเดสก์ทอปที่ให้ค้นหาข้อความเต็มทางอีเมล, ไฟล์เพลงของคุณ, ภาพถ่าย, แชท, Gmail, หน้าเว็บที่คุณได้เข้าชมและอื่นๆ โดย การใช้คอมพิวเตอร์ของคุณค้นหา, Desktop ทำให้ข้อมูลของคุณได้ง่ายในการเข้าถึงของคุณและช่วยให้คุณไม่ต้องด้วยตนเอง จัดการไฟล์, อีเมลและบุ๊คมาร์ค Google Desktop ไม่เพียง แต่ช่วยให้คุณค้นหาคอมพิวเตอร์ของคุณยังช่วยให้คุณรวบรวมข้อมูลใหม่จากเว็บ และจัดอยู่ด้วย Gadget และแถบด้านข้าง Google Gadgets สามารถอยู่ทุกที่บนเดสก์ทอปของคุณเพื่อแสดงอีเมลใหม่อากาศภาพถ่ายข่าวที่ กำหนดเองและอื่นๆ Sidebar เป็นแถบแนวตั้งบนเดสก์ทอปของคุณที่จะช่วยให้คุณจัด gadgets 
ลองโหลดไปใช้กันดูน่ะครับเพื่อนๆ น่าสนดีครับ ได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยแหละครับ

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การทำภาพดูโอโทน

 

สร้างภาพดูโอโทน (Duotone) ด้วย Photoshop แบบง่ายสุด ๆ



ผมจะใช้โปรแกรม Photoshop เปลี่ยนโหมดสีของภาพ เพื่อสร้างภาพให้ออกมาเป็นโหมดสีแนวดูโอโทน (Duotone)  วิธีการทำนั้นง่ายมาก ๆ


โหมดการเปลี่ยนสีภาพเป็นลักษณะ Duotone นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่แตกมาจากโหมดสีแบบ Grayscale โดยเป็นลักษณะของการใช้สีแทนที่สีขาวและดำในภาพ Grayscale เพื่อให้กลายเป็นสีอื่น ๆ

ขั้นตอนแรก หลังจากที่ได้เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการจะตกแต่ง เข้ามาในโปรแกรม Photoshop แล้ว ให้ทำการเปลี่ยนโหมดของภาพให้เป็นแบบ Grayscale ก่อน โดยใช้คำสั่ง Image --> Mode --> Grayscale


ขั้นตอนที่ 2 หลังจากภาพถูกเปลี่ยนโหมดเป็นภาพแบบ Grayscale ตามภาพที่ 2 แล้ว เราก็มาเปลี่ยนภาพเป็นโหมดสีแบบ Duotone โดยใช้คำสั่ง Image --> Mode --> Duotone สังเกตบริเวณ Type จะเป็น Duotone (แบบ 2 เฉดสี) ตามภาพในตำแหน่งที่ 1




   
ขั้นตอนที่ 3 ในส่วนของหน้าต่าง Duotone Option เราสามารถที่จะเปลี่ยนเลือกใช้โทนสีที่ต้องการจะใช้แทนที่สีขาวดำในภาพ Grayscale ซึ่งสามารถเลือกเปลี่ยนสีได้โดยคลิกที่สี ที่บริเวณตำแหน่งที่ 2 (เลือกเปลี่ยนได้ทั้ง 2 สี และสามารถปรับแต่ง Curve เพื่อปรับน้ำหนักของสีได้ด้วยเช่นกัน) ซึ่งเมื่อเราคลิกแล้วจะมีหน้าต่าง Custom Colors มาให้เลือก ตามตำแหน่งหมายเลข 3 ซึ่งอยากได้ภาพแนว Duotone ออกมาเป็นสีไหน ก็เลือกสีได้ตามใจชอบเลย


   
ขั้นตอนที่ 4 เมื่อเลือกสีที่จะแทนที่ และปรับแต่ง Curve ไล่น้ำหนักโทน เรียบร้อยแล้ว ก็คลิกปุ่ม OK ได้เลย ผลลัพธ์ของการตกแต่งภาพ Duotone ที่ได้จากการกำหนดสีตามภาพด้านบน ก็จะได้ภาพแนว Duotone ตามภาพด้านล่าง ส่วนภาพด้านล่างอีก 2 ภาพก็เป็นการใช้สีเหลือง และสีฟ้าในการแทนที่ และมีการปรับแต่ง Curve ก็จะได้ลักษณะภาพออกมาอย่างที่้เห็น
 
 






























































 


นอกจากนี้แล้วในส่วนของโหมด Duotone ยังสามารถแทนที่สีได้ไม่เฉพาะแค่ 2 เฉดสี แต่มีให้เลือกได้ในส่วนของ Type ในภาพตำแหน่งที่ 1 ซึ่งเราสามารถเลือก Type ได้เป็น 4 แบบดังนี้

Monotone เป็นการตกแต่งภาพ ให้เป็นภาพที่ใช้โทนสีเดียวแทนโทนสีดำของภาพ
Duotone เป็นการตกแต่งภาพ ให้เป็นภาพที่ใช้โทนสีสองสีแทนโทนสีดำของภาพ
Tritone เป็นการตกแต่งภาพ ให้เป็นภาพที่ใช้โทนสีสามสีแทนโทนสีดำของภาพ
Quadtone เป็นการตกแต่งภาพ ให้เป็นภาพที่โทนสีสี่ีสีแทนโทนสีดำของภาพ


ยุคต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์


ยุคต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์




1.  ยุคหลอดสุญญากาศ    (พ.ศ. 2488 – 2501) 
           หลอดสุญญากาศเป็นชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ใช้ประแสไฟฟ้ามากเพื่อเผาหลอดให้เกิด    ประจุอิเล็คตรอน    วิ่งผ่านแผ่นตาราง    ครั้งแรกผลิต    เพื่อใช้งานด้านการคำนวณเลขและพัฒนาเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศสามารถเก็บข้อมูลได้โดยใช้แผ่นแม่เหล็กและเทปแม่เหล็ก



2.  คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ (พ.ศ.2500 – 2507)     
           นักวิทยาศาสตร์อเมริกันได้ผลิตทรานซิสเตอร์ขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรก ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงและใช้กระแสไฟฟ้าน้อยลง  เป็นต้นกำเนิดของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ที่บริษัท IBM ผลิตขึ้นเป็นครั้งแรก  ในปี พ.ศ. 2507 ประเทศไทยได้นำมาใช้ในการศึกษาและสำนักงานสถิติแห่งชาตินำเข้าใช้ทำสำมะโนประชากรเป็นครั้งแรก    ในยุคนี้คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้ในการคำนวณขององค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกาใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมยานอวกาศ  และได้มีการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน       


3.  คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม (พ.ศ.2508 – 2512)      
           นักวิทยาศาสตร์     ได้ทดลองนำทรานซิสเตอร์จำนวนมากลงบนแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก และเกิดวงจรบนแผ่นซิลิกอนที่เรียกว่า  ไอ ซี   (Integrated  Circuit : I C)  บริษัท IBM ได้ผลิตคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมที่มีความซับซ้อนและสามารถคำนวณได้หลายล้านครั้งต่อวินาทีนอกจากนั้นยังมีหน่วยความจำที่จุมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกันก็ได้มีการผลิตหน่วยเก็บข้อมูลมาเป็น  ฮาร์ดดีส (Hard disk)  ที่เก็บข้อมูลได้มากและรวดเร็ว คอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลและอ่านข้อมูลได้รวดเร็วอีกทั้งยังมีขนาดเล็กลงที่เรียกว่า มินิคอมพิวเตอร์   Minicomputer จึงเป็นที่นิยมใช้กันมาก เป็นเหตุให้มีบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นหลายราย


4.  คอมพิวเตอร์ยุค วี แอล เอส ไอ  (พ.ศ.2513 – 2532)     
           ได้มีการผลิตวงจรรวมขนาดใหญ่มารวมกันในแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก เรียกว่า    วงจร วี แอล  เอส ไอ (Very  Large  Scale  Integrated  circuit : VLSI )  ใช้ทรานซิสเตอร์นับล้านตัวรวมกันบนแผ่นซิลิกอน         ผลิตเป็นหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์จนพัฒนามาเป็น ไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor)   ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กแต่ประสิทธิภาพสูง เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ Microcomputer  วงจร  VLSI  อาจจะเรียกว่า ชิป Chip เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายมากขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาระบบหน่วยความจำหรือฮาร์ดดีส   Hard disk ให้มีขนาดเล็กลงแต่มีความจุมากขึ้น เครื่องคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลงเรียกว่า ปาล์มท็อป Palmtop  เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาที่เรียกว่า Notebook  คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่เรียกว่ า Desktop  ในยุคนี้ยังได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานในการประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงานและซอฟต์แวร์กราฟิก  เป็นต้น



5.  คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย (พ.ศ.2533-ปัจจุบัน)   
           เมื่อมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขีดความสามารถสูงขึ้น ทำงานได้เร็ว แสดงผลและจัดการข้อมูลได้มากขึ้นทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้พร้อมกันหลายงาน   ขณะเดียวกันก็มีการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงเป็น  เครือข่ายขององค์ต่าง ๆ ทำให้การทำงานเป็นกลุ่ม (Work Group) โดยใช้เครือข่ายท้องถิ่นที่เรียกว่า LAN   (Local  Area  Network : LAN) เมื่อมีการเชื่อมโยงกันเป็นกลุ่ม   เกิดเป็นเครือข่ายขององค์กรเรียกว่า INTRANET  และถ้าหากนำเครือข่ายขององค์กรเข้าสู่ข่ายสากลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกเรียกว่า  INTERNET  ที่มีใช้กันมากปัจจุบัน

ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ



  ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ


           ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรม ชาติ เป็นกลุ่มสัญลักษณ์แทนปริมาณ หรือการกระทำต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ หรือการประมวลผล ข้อมูลอยู่ในรูปของ ตัวเลขตัวหนังสือ รูปภาพ แผนภูมิ เป็นต้น 
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเปลี่ยนแปลง หรือจัดกระทำเพื่อผลของการ เพิ่มความรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้ ลักษณะของสารสนเทศ จะเป็นการรวบรวมข้อมูลหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกันเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ส่วนคือ
 
  
องค์ประกอบ 5 ส่วนคือ 
  
  1. ข้อมูล เป็นตัวเลข ข้อความ เสียงและภาพ เป็นข้อมูล ป้อนเข้า 
 
 2. การประมวลผล เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูล จัดกระทำข้อมูล เพื่อ ให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้ 
 
 3. การจัดเก็บ เป็นวิธีการที่จะเก็บข้อมูลให้เป็นระบบที่สะดวกต่อการใช้ และ สามารถแก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน 
 
 4. เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูล การประมวลผลทำให้เกิดผล ผลิต ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป อุปกรณ์การสื่อสาร เป็นต้น 
 
 5. สารสนเทศ ผลผลิตของระบบสารสนเทศจะต้องถูกต้อง ตรงกับความต้องการใช้ และทันต่อเหตุการณ์ใช้งาน 


ลักษณะของสารสนเทศที่ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้ 

1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดี ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำปทางใดทางหนึ่ง 
 
2. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง มีเนื้อหาตรงกับเรื่อง ที่ต้องการใช้ของผู้ใช้แต่ละคน 
 
3. ทันต่อเวลา (Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือ การจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคต และการจัดทำสาร สนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น 

CPU หน่วยประมวลผลกลาง



CPU หน่วยประมวลผลกลาง



      การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
      กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น

      การพัฒนาซีพียก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และถูกพัฒนาให้อยู่ในรูปไมโครชิบที่เรียกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์จึงเป็นหัวใจหลักของระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ถึงไมโครคอมพิวเตอร์ ล้วนแล้วแต่ใช้ไมโครชิปเป็นซีพียูหลัก ในเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เช่น ES9000 ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้ไมโครชิปเป็นซีพียู แต่อาจจะมีมากกว่าหนึ่งชิปประกอบรวมเป็นซีพียู
เทคโนโลยีไมโครโพรเซสเซอร์ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มจากปี พ.ศ. 2518 บริษัทอินเทลได้พัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ไมโครโพรเซสเซอร์เบอร์ 8080 ซึ่งเป็นซีพียูขนาด 8 บิต ซีพียูรุ่นนี้จะรับข้อมูลเข้ามาประมวลผลด้วยตัวเลขฐานสองครั้งละ 8 บิต และทำงานภายใต้ระบบปฎิบัติการซีพีเอ็ม (CP/M) ต่อมาบริษัทแอปเปิ้ลก็เลือกซีพียู 6502 ของบริษัทมอสเทคมาผลิตเป็นเครื่องแอปเปิ้ลทู ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคนั้น


        เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยส่วนมากเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูของตระกูลอินเทลที่พัฒนามาจาก 8088 8086 80286 80386 80486 และเพนเตียม ตามลำดับ
การพัฒนาซีพียูตระกูลนี้เริ่มจาก ซีพียูเบอร์ 8088 ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2524 มีการพัฒนาเป็นซีพียูแบบ 16 บิต ที่มีการรับข้อมูลจากภายนอกทีละ 8 บิต แต่การประมวลผลบวกลบคูณหารภายในจะกระทำทีละ 16 บิต บริษัทไอบีเอ็มเลือกซีพียูตัวนี้เพราะอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ในสมัยนั้นยังเป็นระบบ 8 บิต คอมพิวเตอร์รุ่นซีพียู 8088 แบบ 16 บิตนี้เรียกว่า พีซี และเป็นพีซีรุ่นแรก

         ไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นพีซีได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมฮาร์ดดิสก์ลงไปและปรับปรุงซอฟต์แวร์ระบบและเรียกชื่อรุ่นว่า พีซีเอ็กซ์ที (PC-XT)

       ในพ.ศ. 2527 ไอบีเอ็มเสนอไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ทำงานได้ดีกว่าเดิม โดยใช้ชื่อรุ่นว่า พีซีเอที (PC-AT)   คอมพิวเตอร์รุ่นนี้ใช้ซีพียูเบอร์ 80286 ทำงานที่ความเร็วสูงขึ้นคือ 6 เมกะเฮิรตซ์
         
        การทำงานของซีพียู 80286 ดีกว่าเดิมมาก เพราะรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ภายในเป็นแบบ 16 บิตเต็ม การประมวลผลก็เป็นแบบ 16 บิต ทำงานด้วยความเร็วของจังหวะสัญญาณนาฬิกาสูงกว่า และยังติดต่อเขียนอ่านกับหน่วยความจำได้มากกว่า คือ ติดต่อได้สูงสุด 16 เมกะไบต์ หรือ 16 เท่าของคอมพิวเตอร์รุ่นพีซี
พัฒนาการของเครื่องพีซีเอทีทำให้ผู้ผลิตอื่นออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ตามอย่างไอบีเอ็มโดยเพิ่มขีดความสามารถเฉพาะของตนเองเข้าไปอีก เช่น ใช้สัญญาณนาฬิกาสูงเป็น 8 เมกะเฮริตซ์ 10 เมกะเฮิรตซ์ จนถึง 16 เมกะเฮิรตซ์ ไมโครคอมพิวเตอร์บนรากฐานของพีซีเอทีจึงมีผู้ใช้กันทั่วโลก ยุคนี้จึงเป็นยุคที่ไมโครคอมพิวเตอร์แพร่หลายอย่างเต็มที่
ในพ.ศ. 2529 บริษัทอินเทลประกาศตัวซีพียูรุ่นใหม่ คือ 80386 หลายบริษัทรวมทั้งบริษัทไอบีเอ็มเร่งพัฒนาโดยนำเอาซีพียู 80386 มาเป็นซีพียูหลักของระบบ ซีพียู 80386 เพิ่มเติมขีดความสามารถอีกมาก เช่น รับส่งข้อมูลครั้งละ 32 บิต ประมวลผลครั้งละ 32 บิต ติอต่อกับหน่วยความจำได้มากถึง 4 จิกะไบต์ (1 จิกะไบต์เท่ากับ 1024 บ้านไบต์) จังหวะสัญญาณนาฬิกาเพิ่มได้สูงถึง 33 เมกะเฮิรตซ์ ขีดความสามารถสูงกว่าพีซีรุ่นเดิมมาก และใน พ.ศ. 2530 บริษัทไอบีเอ็มเริ่มประกาศขายไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ชื่อว่า พีเอสทู (PS/2) โดยมีโครงสร้างทางฮาร์ดแวร์ของระบบแตกต่างออกไปโดยเฉพาะระบบเส้นทางส่งถ่ายข้อมูลภายใน (bus)
ผลปรากฎว่า เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น 80386 ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ทั้งนี้เพราะยุคเริ่มต้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ 80386 มีราคาแพงมาก ดังนั้นในพ.ศ. 2531 อินเทลต้องเอาใจลูกค้าในกลุ่มเอทีเดิม คือลดขีดความสามารถของ 80386 ลงให้เหลือเพียง 80386SX
ซีพียู 80386SX ใช้กับโครงสร้างเครื่องพีซีเอทีเดิมได้พอดีโดยแทบไม่ต้องดัดแปลงอะไร ทั้งนี้เพราะโครงสร้างภายในซีพียูเป็นแบบ 80386 แต่โครงสร้างการติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกใช้เส้นทางเพียงแค่ 16 บิต ไมโครคอมพิวเตอร์ 80386SX  จึงเป็นที่นิยมเพราะมีราคาถูกและสามารถทดแทนเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นพีซีเอทีได้
ซีพียู 80486 เป็นพัฒนาการของอินเทลใน พ.ศ. 2532 และเริ่มใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปีต่อมา ความจริงแล้วซีพียู 80486 ไม่มีข้อเด่นอะไรมากนัก เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีการรวมชิป 80387 เข้ากับซีพียู 80386 ซึ่งชิป 80387 เป็นหน่วยคำนวณทางคณิตศาสตร์ และรวมเอาส่วนจัดการหน่วยความจำเข้าไว้ในชิป ทำให้การทำงานโดยรวมรวดเร็วขึ้นอีก
ในพ.ศ. 2535 อินเทลได้ผลิตซีพียูตัวใหม่ที่มีขีดความสามารถสูงขึ้น ชื่อว่า เพนเตียม การผลิตไมโครคอมพิวเตอร์จึงได้เปลี่ยนมาใช้ซีพียูเพนเตียม ซึ่งเป็นซีพียูที่มีขีดความสามารถเชิงคำนวณสูงกว่าซีพียู 80486 มีความซับซ้อนกว่าเดิม และใช้ระบบการส่งถ่ายข้อมูลได้ถึง 64 บิต
การพัฒนาทางด้านซีพียูเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นใหม่จะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ใช้งานได้ดีมากขึ้น และจะเป็นซีพียูในรุ่นที่ 6 ของบริษัทอินเทล โดยมีชื่อว่า เพนเตียมทู


Pipeline

Pipeline
         Pipeline คือ
         

        ในคอมพิวเตอร์ Pipelining หมายถึงการเคลื่อนย้ายที่ซ้อนกัน (Over lapped) ของคำสั่ง ไปยังกระบวนการหรือขั้นตอนทางเลขคณิต โดยตัวประมวยผลเพื่อทำงานตามคำสั่ง Pipelining คือการใช้ Pipeline ถ้าไม่มี Pipeline ตัวประมวลผลของคอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งแรกจากหน่วยความจำ และทำการประมวลผลจนเสร็จสิ้น จากนั้นจึงเรียกคำสั่งต่อไปจากหน่วยความจำ ในขณะที่ทำการเรียกคำสั่งใหม่ ส่วนเลขคณิตของตัวประมวลผลจะว่าง เพื่อรอคำสั่งต่อไป ถ้ามี Pipeline สถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์จะยินยอมให้นำคำสั่งต่อไปมาเก็บไว้ใน buffer ที่ใกล้กับตัวประมวลผล เพื่อทำให้ตัวประมวลผลเรียกคำสั่งใหม่ได้เร็วขึ้น และสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง จึงทำให้การทำงานทำได้เร็วขึ้น

         Pipelining ของตัวประมวลผลในคอมพิวเตอร์ จะแบ่งเป็น Pipeline ของคำสั่งและ Pipeline ของเลขคณิต โดย Pipeline ของคำสั่งจะเสนอขั้นตอนของคำสั่งในเคลื่อนที่ไปยังตัวประมวลผล รวมถึงการเรียก การสำรอง และทำงาน ส่วน Pipeline ของเลขคณิต เสนอตัว Operator ทางเลขคณิต ซึ่งสามารถแยกออกและซ้อนกันเมื่อมีการทำงาน Pipelines และ Pipelining ได้รับการประยุกต์กับตัวควบคุมหน่วยความจำและการย้ายข้อมูลไปยังขั้นต่าง ๆ ของหน่วยความส่วน       effect pipeline มีคำนี้ในวงการ CG 

ระบบของคอมพิวเตอร์


 ระบบของคอมพิวเตอร์



           คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกและช่วยในการทำงานของมนุษย์ โดยมีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป พัฒนาการของคอมพิวเตอร์มีมาอย่างต่อเนื่องจนในปัจจุบันคอมพิวเตอร์เป็นที่นิยม และราคาถูกลงมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน อีกทั้งความสามารถและประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ก็เพิ่มขึ้นทั้งในด้าน ความเร็วในการประมวลผลข้อมูล และความสามารถในการเก็บข้อมูลมากขึ้น และปลอดภัยมากขึ้น

                  เมื่อปิดคอมพิวเตอร์ มันก็เปรียบเสมือนสิ่งของที่ประกอบด้วย พลาสติก โลหะ สายไฟมากมาย และวงจรต่างๆ  ที่เชื่อมต่อกันอย่างซับซ้อนมากมาย แต่เมื่อเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้น กระแสไฟฟ้าจะกระตุ้นให้วงจรเหล่านั้นทำงาน และเกิดเรื่องน่าอัศจรรย์ขึ้นมากมาย แต่เริ่มแรกที่กระแสไฟฟ้าเข้าสู่คอมพิวเตอร์ มันจะยังไม่ทำงานใดๆทั้งนั้น นอกจากจะตรวจสอบตัวเองก่อนว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้างที่มีอยู่ในตัวมันและยังใช้งานได้หรือไม่ เหมือนกับ คนไข้อาการโคม่าที่พอฟื้นขึ้นมาก็จะตรวจดูตัวเองก่อนว่า อวัยวะของตัวเองอยู่ครบหรือไม่ นั่นเอง เมื่อคอมพิวเตอร์ตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ในตัวมันแล้วไม่มีปัญหา ก็จะเริ่มทำการ บูท (boot) ระบบ ซึ่งต้องอาศัยโปรแกรมที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการ ซึ่งทำหน้าที่เสมือนผู้ดูแลการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ ให้ทำงานตามคำสั่ง

          การทำงาน
             เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ กระแสไฟฟ้าจะวิ่งไปตามเส้นทางที่ได้กำหนดไว้ไปยัง ซีพียู เพื่อลบข้อมูลเก่าที่ยังคงค้างอยู่ใน หน่วยความจำของซีพียู หรือเรียกว่า เรจิสเตอร์ (Register) สัญญาณทางไฟฟ้าจะไปตั้งค่าเรจิสเตอร์ของซีพียูตัวหนึ่ง มีชื่อว่า ตัวนับโปรแกรม หรือ Program counter ค่าที่ตั้งให้นั้น ค่าที่ตั้งนั้นเป็นค่าที่บอกให้ ซีพียู รู้ตำแหน่งของคำสั่งถัดไปที่จะต้องทำ ซึ่งตอนเปิดเครื่อง ตำแหน่งที่ต้องส่งไปก็คือตำแหน่งเริ่มต้นของคำสั่งบูตนั่นเอง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมบูตจะเก็บอยู่ในหน่วยความจำที่เรียกว่า ไบออส (BIOS ย่อมาจาก Basic Input/Output System) หรือ รอมไบออส (ROM BIOS ย่อมาจาก Read Only Memory Basic Input/Output System) จากนั้น ซีพียูจะส่งสัญญาณไปตามบัส (Bus) ซึ่งเป็นวงจรทีเชื่อมอุปกรณ์ทุปอย่างเข้าด้วยกัน เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทุกอย่างทำงาน

                  อุปกรณ์ภายนอกระบบที่ต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านทางพอร์ตต่างๆ ได้แก่ แป้นพิมพ์, เมาส์, เครื่องพิมพ์, เครื่องสแกน, ไมโครโฟน, จอภาพ, ลำโพง เป็นต้น 


ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์

ฮาร์ดแวร์คืออุปกรณ์และชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์ ที่มีวงจรไฟฟ้าอยู่ภายในเป็นส่วนใหญ่ และสามารถจับต้องได้ ตัวอย่างเช่น ซีพียู เมาส์ คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์ ลำโพง แผงเมนบอร์ดฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม ดีวีดีรอม เป็นต้น

หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หน่วยประมวลผลกลาง ( CPU : Central Processing Unit ) หรือมักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณ Clock เมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม 1 ครั้ง เราเรียกหน่วย ที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า “เฮิร์ท”(Herzt) หมายถึงการทำงานได้กี่ครั้งในจำนวน 1 วินาที เช่น ซีพียู Pentium4 มีความเร็ว 2.5 GHz หมายถึงทำงานเร็ว 2,500 ล้านครั้ง ในหนึ่งวินาที กรณีที่สัญญาณ Clock เร็วก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีความเร็วสูงตามไปด้วย ซีพียูที่ทำงานเร็วมาก ราคาก็จะแพงขึ้นมากตามไปด้วย การเลือกซื้อจะต้องเลือกซื้อให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการนำไปใช้ เช่นต้องการนำไปใช้งานกราฟิกส์ ที่มีการประมวลผลมาก จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องที่มีการประมวลผลได้เร็ว ส่วนการพิมพ์รายงานทั่วไปใช้เครื่องที่ความเร็ว 100 MHz ก็เพียงพอแล้ว

หน่วยป้อนข้อมูล (Input Unit) หน่วยป้อนข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้แก่ แป้นพิมพ์ สำหรับพิมพ์ตัวอักษรและอักขระต่าง ๆ เมาส์สำหรับคลิกสั่งงานโปรแกรม สแกนเนอร์สำหรับสแกนรูปภาพ จอยสติ๊ก สำหรับเล่นเกมส์ ไมโครโฟนสำหรับพูดอัดเสียง และกล้องดิจิตอลสำหรับถ่ายภาพ และนำเข้าไปเก็บไว้ ในดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปใช้งานต่อไป



หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยแสดงผล (Output Unit) มีหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล ที่ผ่านการประมวลผลในรูปของ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรือ เสียง เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลได้แก่ จอภาพ(Monitor) สำหรับแสดงตัวอักษรและรูปภาพ เครื่องพิมพ์ (Printer) สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง ออกทางกระดาษพิมพ์ ลำโพง (Speaker) แสดงเสียงเพลงและคำพูด เป็นต้น


หน่วยความจำ (Memory Unit) หน่วยความจำ (Memory Unit) มีหน้าที่ในการจำข้อมูล ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีอยู่ 2 ชนิดคือ หน่วยความถาวร (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้ตลอดเวลา ส่วนหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งคือ หน่วยความจำชั่วคราว (RAM : Random Access Memory) หน่วยความจำประเภทนี้ จะจำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มี การเปิดไฟเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น หน่วยความจำชั่วคราว ถือว่าเป็นหน่วยความจำหลักภายในเครื่อง สามารถซื้อมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ เรียกกันทั่วไปคือหน่วยความจำแรม ที่ใช้ในปัจจุบันคือ แรมแบบ SDRAM , RDRAM เป็นต้น
หน่วยความจำสำรอง (Storage Unit) หน่วยความจำสำรองคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป เนื่องจากหน่วยความจำแรม จำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มีการเปิดไฟ เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าต้องการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป จะต้องบันทึกข้อมูลลงในหน่วยความจำสำรอง ซึ่งหน่วยความจำสำรองมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่มีนิยมใช้กันทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม ดีวีดีรอม ทัมท์ไดร์ฟ เป็นต้น

แผงวงจรหลัก (Mainboard) แผงวงจรหลัก หรือนิยมเรียกว่าแผงเมนบอร์ด คือแผงวงจร ที่ติดตั้งภายในเคสของคอมพิวเตอร์ แผงเมนบอร์ดเป็นที่ติดตั้งอุปกร์คอมพิวเตอร ์และอิเล็กทรอนิกส์ให้เชื่อมต่อถึงกัน เป็นที่ติดตั้งซีพียู หน่วยความจำรอม หน่วยความจำแรม การ์ดอินเตอร์เฟสต่าง ๆ และพอร์ตเชื่อมต่อออกไปภายนอก แผงวงจรนี้เป็นแผงวงจรหลัก ที่เชื่อมโยงไปยังหน่วยป้อนข้อมูล และหน่วยแสดงผล